Menu Close

เครื่องทำความร้อน สำหรับสัตว์ฟาร์มสุกร

เครื่องทำความร้อนสำหรับสัตว์ฟาร์มสุกร

เครื่องทำความร้อน สำหรับสัตว์ฟาร์มสุกร     

 

“สิ่งแวดล้อม” เริ่มจากอุณหภูมิ ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุ โดยอุณหภูมิภายในโรงเรือนมีผลต่อการกินได้ของสุกรอนุบาล หากอุณหภูมิสูงขึ้น การกินได้มีแนวโน้มลดลง และยิ่งเห็นชัดเจนเมื่อสุกรตัวใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะรุ่นขุนที่ต้องทำให้โรงเรือนโล่งโปร่งเย็นสบายหรือเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดที่ดี อุณหภูมิในโรงเรือนเหมาะสมช่วยให้สุกรกินอาหารได้มากขึ้นแต่ในช่วงอนุบาลและสุกรเล็กต้องปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมเพราะหลังหย่านมสุกรอนุบาลยังต้องการอุณหภูมิสูง หลังจากนั้นก็ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งหลายฟาร์มทำส้วมน้ำไว้ที่ท้ายเล้าอนุบาล เพื่อไว้ให้สุกรคลายร้อนในช่วงท้ายอนุบาล ส่งผลให้การกินได้และประสิทธิภาพการ ผลิตดีต่อเนื่อง

 

ความสะอาดของโรงเรือน จากการศึกษาจำนวนเชื้อที่อยู่ในโรงเรือนกับการเติบโตของสุกรพบว่า หากปริมาณเชื้อมาก อัตราการเจริญเติบโตก็ลดลง แสดงให้เห็นถึงปัญหาของการได้สัมผัสเชื้อ และเมื่อสุกรได้รับเชื้อก็ต้องเปลี่ยนสารอาหารไปเป็นภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อโรค ดังนั้น จึงต้องเน้นการทำความสะอาดโรงเรือน ป้องกันเชื้อโรคสะสม มีการล้างพักคอกตามมาตรฐาน และทำความสะอาดคอกเป็นประจำ นอกจากนั้น ควรเลี้ยงสุกรแบบเข้าออกหมด เพื่อสะดวกต่อการจัดการ นอกจากนั้นโรงเรือนต้องมีการระบายอากาศที่ดี ไม่มีปัญหาแก๊สแอมโมเนียสะสม

 

“การดูแลเป็นพิเศษในแต่ละช่วงอายุ” ฟาร์มที่ประสิทธิภาพการผลิตดีมักมีเทคนิคการจัดการพิเศษเสริมในแต่ละช่วงอายุ เริ่มจากการจัดการในวันแรกและการคัดขนาด ซึ่งมีการศึกษาวิจัยพบว่าหากมีการจัดขนาดลูกสุกรที่สม่ำเสมอจะช่วยให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ขณะที่การเคลื่อนย้ายสุกรอนุบาลควรทำในช่วงเช้า เนื่องจากมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตน้อยกว่าการเคลื่อนย้ายในช่วงบ่ายและเย็น เพราะหลังจากย้ายในช่วงเช้าแล้วยังมีเวลาดูแลลูกสุกรกลุ่มนี้อีก 6-8 ชั่วโมง 

 

จึงมีโอกาสจัดไม่ให้สุกรเกิดปัญหาทรุดหลังย้าย ที่กระทบต่อการเจริญเติบโต ซึ่งฟาร์มที่ประสิทธิภาพการผลิตจะย้ายสุกรลงอนุบาลในช่วงเช้า ยกตัวอย่าง ฟาร์มแห่งหนึ่งสุกรลงอนุบาลวันแรกมีอาหารเปียก อาหารแห้ง น้ำและสิ่งปูรองด้านท้าย ไฟกก และส้วมน้ำ เมื่อนำไฟกกออกแล้วก็เติมน้ำที่ส้วมน้ำ ลูกสุกรกระจายตัวในคอกได้ดี อุณหภูมิและการระบายอากาศ และความหนาแน่นเหมาะสม ช่วยให้การกินได้ดี มีประสิทธิภาพการผลิตสูง

 
Temp Pigatron

 

การดูแลลูกสุกรตัวเล็ก หลายฟาร์มที่มีโรงเรือนและคอกเพียงพอ หรือสามารถจัดการได้ก็แบ่งขนาดลูกสุกรเป็น เกรด A คือตัวใหญ่ เกรด B ขนาดกลาง และเกรด C คือ ตัวเล็ก แยกเลี้ยงในแต่ละคอก โดยมีการเสริมนม อาหารเหลว ให้กับลูกตัวเล็กเป็นพิเศษโดยให้นมผงที่รางอาหาร หรือนมละลายน้ำ หรือนมละลายน้ำราดบนอาหารให้เป็นอาหารเปียก ซึ่งหลังจากเสริมไปประมาณ 7-10 วัน กลุ่มตัวเล็กจะมีขนาดใหญ่ขึ้น สุขภาพดีขึ้น เติบโตทันตัวอื่นๆ ก่อนย้ายลงโรงเรือนขุน การเสริมสารอิเล็คโตรไลท์ เพราะลูกตัวเล็กมีภาวะสูญเสียน้ำได้ง่ายกว่าลูกสุกรปกติ จึงต้องเฝ้าระวังการขาดน้ำของลูกตัวเล็ก โดยให้วันละ 3-4 รอบ ขณะที่กล่องกก ไฟกก ต้องให้นานเป็นพิเศษในลูกตัวเล็ก เนื่องจากทนความหนาวเย็นได้ค่อนข้างต่ำกว่าลูกสุกรตัวใหญ่ การใช้ยาปฏิชีวนะฉีดหรือผสมน้ำให้กินเป็นช่วงๆ โดยพิจารณาว่า สุกรป่วยเมื่อใด 

 

ซึ่งต้องอาศัยพนักงานที่มีประสบการณ์พอสมควรที่สังเกตความผิดปกติว่า สุกรเริ่มป่วยและตัดสินใจให้ยาทันที หรือหากเปอร์เซ็นต์การป่วยเพิ่ม 20-30 เปอร์เซ็นต์ ก็ผสมยาในอาหาร ซึ่งการตัดสินใจที่รวดเร็วช่วยป้องกันไม่ให้สุกรป่วยเพิ่ม โดยเฉพาะในลูกสุกรตัวเล็ก ขณะที่การแยกสุกรตามยูนิต เป็นสิ่งที่หลายฟาร์ม โดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่ทำ แต่ต้องมีโรงเรือนอนุบาลที่มากพอ การจัดการปัญหาลูกบางส่วนที่อมโรคมา โดยฟาร์มใหญ่มีโอกาสทำให้ลูกมีภูมิคุ้มกันสม่ำเสมอกันได้ยาก ดังนั้น หากมีการจัดยูนิตและไหลสุกรตามยูนิตได้ ก็จะช่วยลดการป่วย และช่วยให้ประสิทธิภาพการผลิตดีตามไปด้วย

 

การจัดการอุณหภูมิและการระบายอากาศที่ดี ช่วยป้องกันปัญหาความเครียดจากความหนาวเย็นที่กระทบต่อการเจริญเติบโตโดยเฉพาะสุกรอนุบาล ที่ในช่วง 2 สัปดาห์แรกต้องการความอบอุ่น สัปดาห์ต้องการอุณหภูมิเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียส จากนั้นก็ลดลงสัปดาห์ละ 1 องศาเซลเซียส ซึ่งเกษตรกรต้องจัดการให้ถูกต้องทั้งกล่องกก ไฟกก เพียงพอหรือไม่ หากไม่พอก็ต้องแก้ไข กกให้อุ่นเมื่ออายุ 7-8 สัปดาห์ก็ใส่น้ำในส้วมน้ำ เปิดพัดลม ให้โรงเรือนเย็น สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความเอาใจใส่ในการจัดการสุกรแต่ละช่วงอายุ โรงเรือนอนุบาลส่วนใหญ่มีผ้าม่านกันลม และปิดม่าน เพราะกลัวสุกรอนุบาลหนาว แต่การทำให้โรงเรือนอบอุ่นไม่เพียงพอ 

 

Temp Pigatron

 

ต้องให้มีการระบายอากาศที่ดีด้วย มิฉะนั้น จะเกิดความเครียดและสูญเสียจากการป่วยได้ ดังนั้น โรงเรือนอนุบาลต้องมีผ้าม่านและต้องระบายอากาศดี คือ ปิดผ้าม่านด้านล่างป้องกันไม่ให้ลมปะทะตัวสุกรโดยตรง แต่ด้านบนไม่กั้น เพื่อให้ระบายแก๊สต่างๆ ช่วยให้สุกรอยู่สบายไม่เครียด และเจริญเติบโตดี การกินได้จากการศึกษาพบว่า มีผลต่อการเจริญเติบโตในสุกรอนุบาลและขุน จึงต้องหาวิธีการให้สุกรกินได้มากที่สุด พื้นที่กินอาหารต้องเพียงพอ มีอาหารให้กินอย่างเพียงพอ สุกรอนุบาลต้องการพื้นที่กินมาก คุณภาพอาหารดี สดใหม่ ขณะที่สุกรทุกช่วงอายุชอบอาหารเปียก ดังนั้น การทำอาหารเปียกจะช่วยเพิ่มการกินได้ และหากสุกรมีปัญหาแตกไซต์เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ต้องตรวจสอบว่า เกิดจากพื้นที่การกินไม่เพียงพอหรือไม่ และที่สำคัญแรงงานต้องมีคุณภาพในการจัดการเพื่อเพิ่มการกินได้ ซึ่งสุกรยิ่งกินได้มาก อัตราการเจริญเติบโตยิ่งดีทั้งในสุกรอนุบาลและสุกรขุน

 

เทคนิควิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในสุกรอนุบาลและขุน เกษตรกรผู้เลี้ยงแต่ละฟาร์มควรนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในฟาร์มของตนเอง โดยปัจจัยสำคัญอยู่ที่ หัวหน้างาน คุณภาพทีมงาน การจัดการที่ต้องดีตลอดห่วงโซ่การผลิตสุกร การเฝ้าระวังติดตามสุขภาพสุกรตลอดเวลา การจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสม โดยเฉพาะความสะอาด การเลี้ยงแบบเช้าออกหมด ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่ละเลยไม่ได้ การทำ Feed Budgeting เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารให้ดีขึ้น เป็นสิ่งที่แต่ละฟาร์มต้องศึกษาทดลองและหาจุดที่เหมาะสมกับฟาร์มรวมถึงการดูแลจัดการลูกสุกรตัวเล็ก เพื่อลดการสูญเสีย หากปฏิบัติอย่างถูกต้องก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มดีขึ้น…

 
 
     

เครื่องทำความร้อน สำหรับสัตว์ฟาร์มสุกร

“สิ่งแวดล้อม” เริ่มจากอุณหภูมิที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุ โดยอุณหภูมิภายในโรงเรือนมีผลต่อการกินได้ของสุกรอนุบาล หากอุณหภูมิสูงขึ้น การกินได้มีแนวโน้มลดลง และยิ่งเห็นชัดเจนเมื่อสุกรตัวใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะรุ่นขุนที่ต้องทำให้โรงเรือนโล่งโปร่งเย็นสบาย หรือเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดที่ดี อุณหภูมิในโรงเรือนเหมาะสม ช่วยให้สุกรกินอาหารได้มากขึ้น แต่ในช่วงอนุบาลและสุกรเล็กต้องปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม เพราะหลังหย่านมสุกรอนุบาลยังต้องการอุณหภูมิสูง หลังจากนั้นก็ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งหลายฟาร์มทำส้วมน้ำไว้ที่ท้ายเล้าอนุบาล เพื่อไว้ให้สุกรคลายร้อนในช่วงท้ายอนุบาล ส่งผลให้การกินได้และประสิทธิภาพการผลิตดีต่อเนื่อง
 
ความสะอาดของโรงเรือน จากการศึกษาจำนวนเชื้อที่อยู่ในโรงเรือนกับการเติบโตของสุกรพบว่า หากปริมาณเชื้อมาก อัตราการเจริญเติบโตก็ลดลง แสดงให้เห็นถึงปัญหาของการได้สัมผัสเชื้อ และเมื่อสุกรได้รับเชื้อก็ต้องเปลี่ยนสารอาหารไปเป็นภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อโรค ดังนั้น จึงต้องเน้นการทำความสะอาดโรงเรือน ป้องกันเชื้อโรคสะสม มีการล้างพักคอกตามมาตรฐาน และทำความสะอาดคอกเป็นประจำ นอกจากนั้น ควรเลี้ยงสุกรแบบเข้าออกหมด เพื่อสะดวกต่อการจัดการ นอกจากนั้นโรงเรือนต้องมีการระบายอากาศที่ดี ไม่มีปัญหาแก๊สแอมโมเนียสะสม
 
“การดูแลเป็นพิเศษในแต่ละช่วงอายุ” ฟาร์มที่ประสิทธิภาพการผลิตดีมักมีเทคนิคการจัดการพิเศษเสริมในแต่ละช่วงอายุ เริ่มจากการจัดการในวันแรกและการคัดขนาด ซึ่งมีการศึกษาวิจัยพบว่าหากมีการจัดขนาดลูกสุกรที่สม่ำเสมอจะช่วยให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ขณะที่การเคลื่อนย้ายสุกรอนุบาลควรทำในช่วงเช้า เนื่องจากมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตน้อยกว่าการเคลื่อนย้ายในช่วงบ่ายและเย็น
 
Temp Pigatron
 
 เพราะหลังจากย้ายในช่วงเช้าแล้วยังมีเวลาดูแลลูกสุกรกลุ่มนี้อีก 6-8 ชั่วโมง จึงมีโอกาสจัดไม่ให้สุกรเกิดปัญหาทรุดหลังย้าย ที่กระทบต่อการเจริญเติบโต ซึ่งฟาร์มที่ประสิทธิภาพการผลิตจะย้ายสุกรลงอนุบาลในช่วงเช้า ยกตัวอย่าง ฟาร์มแห่งหนึ่งสุกรลงอนุบาลวันแรกมีอาหารเปียก อาหารแห้ง น้ำและสิ่งปูรองด้านท้าย ไฟกก และส้วมน้ำ เมื่อนำไฟกกออกแล้วก็เติมน้ำที่ส้วมน้ำ ลูกสุกรกระจายตัวในคอกได้ดี อุณหภูมิและการระบายอากาศ และความหนาแน่นเหมาะสม ช่วยให้การกินได้ดี มีประสิทธิภาพการผลิตสูง
 
การดูแลลูกสุกรตัวเล็ก หลายฟาร์มที่มีโรงเรือนและคอกเพียงพอ หรือสามารถจัดการได้ก็แบ่งขนาดลูกสุกรเป็น เกรด A คือตัวใหญ่ เกรด B ขนาดกลาง และเกรด C คือ ตัวเล็ก แยกเลี้ยงในแต่ละคอก โดยมีการเสริมนม อาหารเหลว ให้กับลูกตัวเล็กเป็นพิเศษโดยให้นมผงที่รางอาหาร หรือนมละลายน้ำ หรือนมละลายน้ำราดบนอาหารให้เป็นอาหารเปียก ซึ่งหลังจากเสริมไปประมาณ 7-10 วัน กลุ่มตัวเล็กจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
 
 สุขภาพดีขึ้น เติบโตทันตัวอื่นๆ ก่อนย้ายลงโรงเรือนขุน การเสริมสารอิเล็คโตรไลท์ เพราะลูกตัวเล็กมีภาวะสูญเสียน้ำได้ง่ายกว่าลูกสุกรปกติ จึงต้องเฝ้าระวังการขาดน้ำของลูกตัวเล็ก โดยให้วันละ 3-4 รอบ ขณะที่กล่องกก ไฟกก ต้องให้นานเป็นพิเศษในลูกตัวเล็ก เนื่องจากทนความหนาวเย็นได้ค่อนข้างต่ำกว่าลูกสุกรตัวใหญ่ การใช้ยาปฏิชีวนะฉีดหรือผสมน้ำให้กินเป็นช่วงๆ โดยพิจารณาว่า สุกรป่วยเมื่อใด ซึ่งต้องอาศัยพนักงานที่มีประสบการณ์พอสมควรที่สังเกตความผิดปกติว่า สุกรเริ่มป่วยและตัดสินใจให้ยาทันที หรือหากเปอร์เซ็นต์การป่วยเพิ่ม 20-30 เปอร์เซ็นต์ ก็ผสมยาในอาหาร ซึ่งการตัดสินใจที่รวดเร็วช่วย
 
ป้องกันไม่ให้สุกรป่วยเพิ่ม โดยเฉพาะในลูกสุกรตัวเล็ก ขณะที่การแยกสุกรตามยูนิต เป็นสิ่งที่หลายฟาร์ม โดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่ทำ แต่ต้องมีโรงเรือนอนุบาลที่มากพอ การจัดการปัญหาลูกบางส่วนที่อมโรคมา โดยฟาร์มใหญ่มีโอกาสทำให้ลูกมีภูมิคุ้มกันสม่ำเสมอกันได้ยาก ดังนั้น หากมีการจัดยูนิตและไหลสุกรตามยูนิตได้ ก็จะช่วยลดการป่วย และช่วยให้ประสิทธิภาพการผลิตดีตามไปด้วย
 
การจัดการอุณหภูมิและการระบายอากาศที่ดี ช่วยป้องกันปัญหาความเครียดจากความหนาวเย็นที่กระทบต่อการเจริญเติบโตโดยเฉพาะสุกรอนุบาล ที่ในช่วง 2 สัปดาห์แรกต้องการความอบอุ่น สัปดาห์ต้องการอุณหภูมิเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียส จากนั้นก็ลดลงสัปดาห์ละ 1 องศาเซลเซียส ซึ่งเกษตรกรต้องจัดการให้ถูกต้องทั้งกล่องกก ไฟกก เพียงพอหรือไม่ หากไม่พอก็ต้องแก้ไข กกให้อุ่นเมื่ออายุ 7-8 สัปดาห์ก็
 
Temp Pigatron
 
ใส่น้ำในส้วมน้ำ เปิดพัดลม ให้โรงเรือนเย็น สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความเอาใจใส่ในการจัดการสุกรแต่ละช่วงอายุ โรงเรือนอนุบาลส่วนใหญ่มีผ้าม่านกันลม และปิดม่าน เพราะกลัวสุกรอนุบาลหนาว แต่การทำให้โรงเรือนอบอุ่นไม่เพียงพอ ต้องให้มีการระบายอากาศที่ดีด้วย มิฉะนั้น จะเกิดความเครียดและสูญเสียจากการป่วยได้ ดังนั้น โรงเรือนอนุบาลต้องมีผ้าม่านและต้องระบายอากาศดี คือ ปิดผ้าม่านด้านล่างป้องกันไม่ให้ลมปะทะตัวสุกรโดยตรง แต่ด้านบนไม่กั้น เพื่อให้ระบายแก๊สต่างๆ ช่วยให้สุกรอยู่สบายไม่เครียด และเจริญเติบโตดี
 
การกินได้จากการศึกษาพบว่า มีผลต่อการเจริญเติบโตในสุกรอนุบาลและขุน จึงต้องหาวิธีการให้สุกรกินได้มากที่สุด พื้นที่กินอาหารต้องเพียงพอ มีอาหารให้กินอย่างเพียงพอ สุกรอนุบาลต้องการพื้นที่กินมาก คุณภาพอาหารดี สดใหม่ ขณะที่สุกรทุกช่วงอายุชอบอาหารเปียก ดังนั้น การทำอาหารเปียกจะช่วยเพิ่มการกินได้ และหากสุกรมีปัญหาแตกไซต์เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ต้องตรวจสอบว่า เกิดจากพื้นที่การกินไม่เพียงพอหรือไม่ และที่สำคัญแรงงานต้องมีคุณภาพในการจัดการเพื่อเพิ่มการกินได้ ซึ่งสุกรยิ่งกินได้มาก อัตราการเจริญเติบโตยิ่งดีทั้งในสุกรอนุบาลและสุกรขุน
 
เทคนิควิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในสุกรอนุบาลและขุน เกษตรกรผู้เลี้ยงแต่ละฟาร์มควรนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในฟาร์มของตนเอง โดยปัจจัยสำคัญอยู่ที่ หัวหน้างาน คุณภาพทีมงาน การจัดการที่ต้องดีตลอดห่วงโซ่การผลิตสุกร การเฝ้าระวังติดตามสุขภาพสุกรตลอดเวลา การจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสม โดยเฉพาะความสะอาด การเลี้ยงแบบเช้าออกหมด
 
 ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่ละเลยไม่ได้ การทำ Feed Budgeting เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารให้ดีขึ้น เป็นสิ่งที่แต่ละฟาร์มต้องศึกษาทดลองและหาจุดที่เหมาะสมกับฟาร์มรวมถึงการดูแลจัดการลูกสุกรตัวเล็ก เพื่อลดการสูญเสีย หากปฏิบัติอย่างถูกต้องก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มดีขึ้น…
 
 
กกลูกไก่

ดูข้อมูล เครื่อง กกไก่ เพิ่มเติม >> Products 

ติดตามเพจ เพิ่มเติม >> FACEBOOK

error: Content is protected !!